วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทาน เรื่อง ปลาแดกปลาสมอ

ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทาน เรื่อง ปลาแดกปลาสมอ





รายงาน
เรื่อง ปลาแดกปลาสมอ



จัดทำโดย
นางสาววิชุดา ผาทอง ชั้นปีที่ ๓ หมู่ ๒
รหัสนักศึกษา ๕๗๒๑o๔๐๖๒๐๘


เสนอ
อาจารย์วัชรวร   วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์









คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องปลาแดกปลาสมอ ประกอบด้วย  ที่มา เนื้อหา การใช้ภาษา และการนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันของวรรณกรรมพื้นบ้าน อีกทั้งทำให้มีความรู้และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจต่อไป
                       การศึกษานี้ ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำเป็นอย่างดี  จากท่านอาจารย์วัชรวร  วงศ์กัณหา   ที่ให้คำแนะนำในการรวบรวม  ผู้จัดทำจึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านมา  ณ  โอกาสนี้ด้วย




                                                                                          ผู้จัดทำ
                                                                           นางสาววิชุดา ผาทอง




สารบัญ
เรื่อง
บทที่ ๑ สรุปเนื้อหานิทานเรื่องปลาแดกปลาสมอ (ท้าวบุสบา)
๑. ๑ ที่มาและความสำคัญ
๑. ๒
ที่มาและความสำคัญของหนังสือ
๑.๓ ประวัติหนังสือ

บทที่   วิเคราะห์  ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องปลาแดก (ท้าวบุสบา)
            ๒.๑  ชื่อเรื่องมาจากอะไร                                                                                                        
            ๒.  แก่นเรื่อง                                                                                                                                 
            ๒.  โครงเรื่อง                                                                                                                                   
            ๒.  ตัวละคร                                                                                                                                     
            ๒.๕  ภาษา                                                                                                                                        
            .  ฉาก/สถานที่
บทที่  ความโดดเด่น
บทที่  การนำไปประยุกต์ใช้ 




บทที่ ๑
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ปลาแดกปลาสมอ

วรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทนิทานพื้นบ้านภาคอีสาน และชื่อวรรณกรรมกลุ่มชนชาติไทหลายกลุ่ม ดังที่ ประคอง นิมมานเหมินท์ เสนอไว้ใน ไขคำแก้วคำแพง พินิจวรรณกรรมไทย-ไทชื่อวรรณกรรมดังกล่าวได้แก่ เรื่องปลาแดกปลาสมอของชาวไทดำ เวียดนาม เรื่องท้าวกำพร้าปลาแดกปลาสมอ วรรณกรรมลาว และมีชื่ออื่นอีกคือ บุษบาปลาแดก; บุษบาชาดก เรื่องอะลองปลาส้ม วรรณกรรมไทยเขิน เมืองเชียงตุง สหภาพพม่า เรื่องอะลองปลาส้ม วรรณกรรมไทเหนือเขตปกครองตนเองใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีน  มีโครงเรื่องคล้ายกับ วันคาร เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก เพื่อสวดอ่านในยามว่าง และรู้จักแพร่หลายในท้องถิ่นภาคใต้
ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีบ้านประมาณ ๓๐๐ หลังคาเรือน ตาแสง (กำนัน) ของหมู่บ้านนี้มีภรรยาชื่อนางบัวไข และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อท้าวบัวพันชั้น ครั้นลูกชายอายุได้ ๑๒ ขวบ พ่อได้ตายลง นางบัวไขจึงเป็นหม้าย เลี้ยงลูกชายต่อมา เมื่อลูกชายโตเป็นหนุ่ม นางไปขอลูกสาวของพญาคนหนึ่งมาให้เป็นภรรยา ท้าวบัวพันชั้นกับนางปัททุมมาอยู่กินกันมาถึงเจ็ดปี จึงมีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อบุสบา เมื่อบุสบาอายุได้ ๖ ขวบ พ่อและแม่ได้ตายไป หนูน้อยบุสบาจึงอยู่กับยายต่อมา แล้วฐานะทางครอบครัวก็ตกต่ำลงจนถึงขนาดยากจน อยู่มาครั้งหนึ่งไปตกปลาได้ปลาสมอมามากมายจึงทำเป็นปลาร้า ปลาเค็มไว้เมื่อถึงคราวพวกพ่อค้าเอาสิ่งของไปขายยังเมืองอื่น ท้าวบุสบาจึงเอาของไปฝากกับพวกพ่อค้าทางบก แต่พ่อค้าไม่รับเพราะมันหนักและไม่มีที่จะบรรจุ จึงเอาไปฝากกับพ่อค้าสำเภา นายสำเภาเอาไปขายที่เมืองพาราณสี แต่ขายไม่ออกจึงคิดว่าพรุ่งนี้จะแจกฟรีก่อนเดินทางกลับ ร้อนถึงพระอินทร์ได้ลงมาเอาของทิพย์ใส่ในปลาร้า ทำให้ปลาร้าหอมไปทั่วเมือง นายสำเภาจึงแบ่งเอาไปถวายพระมหากษัตริย์ครึ่งหนึ่ง พระราชาจึงตอบแทนด้วยการใส่ของมีค่าลงในไหแล้วส่งคืน นายสำเภาก็เอามาคืนท้าวบุสบา และท้าวบุสบาก็ไม่ได้เปิดดูเอาไหนั้นตั้งไว้หัวนอนบูชาทุกวัน อยู่มาอีกวันหนึ่ง นายสำเภาไปค้าขายอีก แต่ไปเมืองราชคฤห์ ท้าวบุสบาจึงฝากไหปลาร้านั้นไปถวายพญาตุมวางฟ้าฮ่วน เจ้าเมืองราชคฤห์ เมื่อพญาตุมวางฟ้าฮ่วนเปิดดูได้พบของมีค่ามากเช่นนั้นจึงให้หมอโหรทายดูรู้ว่าท้าวบุสบาเป็นผู้มีบุญจึงได้ยกลูกสาวชื่อนางมาตฟ้าให้ โดยให้นางมาตฟ้าอยู่ในโพรงงาช้างทิพย์ แล้วมอบผ่านนายสำเภาไปให้ เมื่อท้าวบุสบาได้รับแล้วก็เอาไปรักษาไว้อย่างดี ต่อมานางมาตฟ้าปรากฏตัวออกมาให้เห็น ทั้งสองจึงอยู่กินกันแบบสามีภรรยา และนางมาตฟ้าได้เนรมิตบ้านเรือนของใช้สอยอย่างอุดมสมบูรณ์ ต่อมาความงามของนางได้เล่าลือไปถึงพระเจ้าพรหมทัตเจ้าเมือง พระองค์จึงคิดอยากจะได้นางมาตฟ้ามาเป็นมเหสี จึงพยายามจะทำให้ท้าวบุสบาตายแล้วเอานางมาตฟ้ามาเป็นมเหสี จึงใช้ให้ท้าวบุสบาไปเอาของที่หาได้ยากๆ เช่น น้ำนมเสือโคร่ง น้ำนมราชสีห์ น้ำนมช้าง เป็นต้น ถ้าหาไม่ได้จะต้องถูกประหารชีวิต ท้าวบุสบาก็หามาได้ทุกครั้งโดยมีนางมาตฟ้าช่วยจนครั้งสุดท้ายพระเจ้าพรหมทัตใช้ให้ท้าวบุสบาไปเอาสิ่งของเงินทองที่พระองค์ทำบุญไปให้คนตามเมื่อหลายปีมาแล้วที่เมืองนรกและสวรรค์ ท้าวบุสบาก็เอาได้จริงๆ โดยมีนางมาตฟ้าช่วยอีก โดยที่ท้าวบุสบายอมให้เขามัดแขนมัดขาแล้วให้ยกเข้าในกองไฟ แต่เมื่อครบ ๓ วันนางมาตฟ้าก็เอาน้ำมนต์ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ ส่วนพระราชาเมื่อทราบว่าท้าวบุสบาไปนรกสวรรค์ได้ จึงอยากจะไปบ้าง จึงทำแบบเดียวกันกับท้าวบุสบา ผลปรากฏว่าพระองค์ตายไม่ฟื้นเลย ดังนั้นราชบัลลังก์ก็จึงว่างลง พวกเสนาอำมาตย์จึงทำพิธีเสี่ยงราชรถ ราชรถนั้นได้มาเกยเอาท้าวบุสบาและนางมาตฟ้าให้ครองราชสมบัติต่อมา และพระราชาองค์ใหม่ก็ปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุขโดยทั่วหน้า

.๒.ที่มาและความสำคัญของหนังสือ
นิทานเรื่องปลาแดกปลาสมออ เป็นหนังสือนิทานลาวที่ได้กล่าวมานานแล้ว เป็นหนังสือที่โบราณนักปราชญ์ลาวได้ประพันธ์ไว้ หนังสือนี้แต่งสมัยใดนั้น ไม่อาจยืนยันได้ชัดเจน แต่ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนลาวมานับร้อย ๆ ปีแล้ว และเป็นการจารึกลงไปในใบลาน ซึ่งใช้ภาษาอีสานโบราณในการบันทึก จารึกด้วยตัวอักษรธรรม ซึ่งเป็นอักษรที่เคยใช้แพร่หลายในลาวและในภาคอีสานของไทย ผู้ที่รวบรวมไว้เป็นครั้งแรกนั้นไม่อาจทราบได้ว่าใครคือผู้เรียบเรียง เรื่องปลาแดกปลาสมอ หัวใจหลักของเรื่องคือการสอดแทรกคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง กฎแห่งกรรม เป็นเรื่องคติธรรมและเป็นวรรณกรรมของชาวอีสานอีกเรื่องหนึ่งที่อยากให้ลูกหลานชาวอีสานทุกบ้านได้จำเรื่องโบราณ เป็นนิทานมีคติลึกซึ่งถึงแท้แก่ใจอ่านแล้วทำให้จิตใจผ่องใสเกิดปัญญาได้




รวบรวมโดย ธนิต ตาแก้ว จัดพิมพ์และจำหน่ายที่โรงพิมพ์ ลูก ส.ธรรมภักดีถนนข้าวสาร พระนคร
นายสุรพันธ์ พ่วงภักดี ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา 2539


๑.๓ ประวัติหนังสือ
ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏ
ผู้รวบรวม : ธนิต ตาแก้ว
ชื่อเรื่อง : หนังสือรวมนิทานธรรม เรื่องท้าวสุวรรณคีรี / รวบรวมโดย ธนิต ตาแก้ว
พิมพ์ลักษณ์ : ลูก ส.ธรรมภักดี 2539.
จำหน่ายผ่านทางเว็บ
ติดต่อที่ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์ (ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน) ตั้งอยู่ เลขที่ 19/5 หมู่3. ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 ตั้งอยู่ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม (ติดวัดญาณเวศกวัน (ใกล้พุทธมณฑลสถาน องค์พระ))
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อโดยตรง .086-461-8505, 087-696-7771, 085-819-4018, 02-482-7358





บทที่ 2
การวิเคราะห์ ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรม เรื่องปลาแดกปลาสมอ (ท้าวบุสบา)
๒.๑. ชื่อเรื่อง
วรรณกรรมเรื่องปลาแดกปลาสมอ มีชื่อเรื่องมาจากอาหารของชาวอีสาน นั่นก็คือปลาร้า (ปลาแดก) ซึ่งการตั้งชื่อเรื่องแบบนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานที่ชอบกินปลาร้าเป็นอาหารหลัก ทั้งนี้มีความเกี่ยวโยกับเรื่องคือ ปลาแดก (ปลาร้า) มีส่วนในการทำให้ชีวิตของตัวละครในเรื่องเปลี่ยนแปลงไป
๒.๒ แก่นเรื่อง
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
 .๓ โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง
เปิดเรื่องด้วยบทสวดนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง กล่าวถึงตาแสง (กำนัน) ของหมู่บ้านนี้มีภรรยาชื่อนางบัวไข และมีลูกชายคนหนึ่งชื่อท้าวบัวพันชั้น ครั้นลูกชายอายุได้ 12 ขวบ พ่อได้ตายลงนางบัวไขจึงเป็นหม้าย เลี้ยงลูกชายต่อมา เมื่อลูกชายโตเป็นหนุ่ม นางไปขอลูกสาวของพญาคนหนึ่งมาให้เป็นภรรยา ท้าวบัวพันชั้นกับนางปัททุมมาอยู่กินกันมาถึงเจ็ดปี จึงมีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อบุสบาเมื่อบุสบาอายุได้ 6 ขวบ พ่อและแม่ได้ตายไป หนูน้อยบุสบาจึงอยู่กับยายต่อมา
1.ท้าวบุสบาได้นำปลาสมอมาทำเป็นปลาร้า
2. ฝากกับพ่อค้าสำเภา นายสำเภาเอาไปขายที่เมืองพาราณสี แต่ขายไม่ออก
3.พระอินทร์เห็นใจจึงได้ลงมาเอาของทิพย์ใส่ในปลาร้า ทำให้ปลาร้าหอมไปทั่วเมือง
4.นายสำเภาแบ่งเอาไปให้พระมหากษัตริย์ครึ่งหนึ่ง พระมหากษัตริย์เอาของมีค่าใส่ไว้ในไห
5.ต่อมานายสำเภาได้นำปลาร้าไหเก่านำไปถวายเจ้าเมืองราชคฤห์ เจ้าเมืองให้โหรทำนายรู้ว่าท้าวบุสบาเป็นคนมีบุญจึงยกลูกสาวให้ชื่อนางมาตฟ้า
6.พระเจ้าพรหมทัตอยากได้นางมาตฟ้ามาเป็นพระมเหสีจึงทำทุกวิถีทางเพื่อหาทางกำจัดท้าวบุสบาแต่ท้าวบุสบาก็รอดมาได้ทุกครั้ง
7.ครั้งสุดท้ายพระเจ้าพรหมทัตใช้ท้าวบุสบาไปเอาสิ่งของที่ทรงประทานให้คนที่ตายไปแล้วทั้งในนรกและสวรรค์โดยใช้วิธีให้คนมัดแขนขาแล้วโยนลงไปในกองไป
8.ท้าวบุสบาทำได้โดยนางมาตฟ้าเอาน้ำทิพย์มาชุบชีวิต
9.พระเจ้าพรหมทัตเห็นว่าท้าวบุสบาไปนรกสวรรค์ได้จึงอยากไปบ้างโดยใช้วิธีเดียวกันกับท้าวบุสบาแต่แล้วพระเจ้าพรหมทัตก็จบชีวิต
10.ท้าวบุสบาและนางมาตฟ้าจึงได้ขึ้นครองราชย์แทน

๒.๔ ตัวละคร
-นางบัวไข เป็นภรรยาของนายแสง เป็นยายของท้าวบุสบา มีฐานะยากจนแต่ก็ไม่เคยสอนให้ลูกหลานคดโกงคนอื่น มีนิสัยใจดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น
-ท้าวบุสบา เป็นลูกชายของท้าวบัวพันชั้นและนางปัททุมมา อาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กจนโต เป็นชายหนุ่มรูปงามมีบุญ เป็นคนกตัญญู มีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นเสมอ
-นางมาตฟ้า เป็นลูกสาวของเจ้าเมืองราชคฤห์ มีรูปร่างน่าตางดงาม ซ่อนตัวอยู่ในงาช้าง นิสัยใจเย็นเป็นคนรักเดียวใจเดียว
-เจ้าเมืองราชคฤห์ เป็นเจ้าเมืองที่มีนิสัยใจใหญ่ใจกว้าง ปกครองบ้านเมืองด้วยความซื่อตรง เห็นใจประชาชนคนทุกข์ยาก
-พ่อค้าสำเภา เป็นคนอยากมีอยากได้ และโลภมากทำทุกอย่างเพียงต้องการเงิน
-เจ้าเมือง พรหมทัต เป็นคนโมโหร้ายอยากได้อะไรก็ต้องได้ถึงแม้จะได้มาด้วยวิธีอะไรก็ตาม ไม่สนใจความเป็นความตายของคนอื่น บ้าอำนาจลุ่มหลงในกิเลส กามอารมณ์ขี้อิจฉาเห็นคนอื่นดีกว่าตัวเองไม่ได้
-เสนาอำมาตย์ เป็นคนขี้ประจบ เอาหน้ากับเจ้านายลิ้นสองแฉกเชื่อถือไม่ได้
-พระอินทร์ เป็นเทพที่อยู่บนสรวงสวรรค์มีรูปร่างงดงามกว่าคนธรรมดา คอยดูแลท้าวบุสบา อยู่ตลอดเวลาถึงแม้จะตกทุกข์ได้ยากพระอินทร์จะคอยดูแลอยู่เสมอ พระอินทร์เป็นเทพที่มีหูทิพย์ตาทิพย์มีเวทมนต์สามรถเสกสิ่งของต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ
- โหรหลวง เป็นหมอดูประจำเมืองราชคฤห์ เป็นคนที่มีนิสัยใจเย็นพูดตามความทำนาย ไม่โกหก
 .๕ ภาษาและอัตลักษณ์ที่ใช้ในการแต่ง
                -ภาษาถิ่นอีสานแบบคำกลอนโบราณและมีการใช้ภาษาบาลีในการเปิดเปิดเรื่องด้วย
๒.๖ ฉากและสถานที่
                -ฉากมีทั้งฉากเหมือนจริงและแบบจินตนาการประกอบด้วยการพรรณนาธรรมชาติได้อย่างละเอียดทำให้อ่านแล้วรู้สึกเหมือนได้อยู่ในธรรมชาติแบบนั้นจริงๆ นอกจากนั้นยังบรรยายฉากต่างๆที่ไม่ใช่ธรรมชาติแต่บรรยายถึงกิจกรรมต่างๆที่ตัวละครทำได้อย่างละเอียด





บทที่ ๓
ความโดดเด่น
ปลาแดกปลาสมอหรือท้าวบุสบา ชี้ให้เห็นสัจธรรมว่าธรรมะหรือคุณความดีย่อมชนะสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง และสะท้อนให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสานดังนี้
ด้านคติความเชื่อ
 -ความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติความเชื่อเรื่องผีสางการไหว้บวงสรวงการบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น
-ความเชื่อทางศาสนามีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตาย เกิดความเชื่อเรื่องบาปบุญ
-ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์เป็นต้น
ด้านจารีตประเพณี
-บายศรีสู่ขวัญหรือพิธีผงบุกคนผู้ประกอบด้วยคุณงามความดีซึ่งเป็นพิธีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตลอดถึงด้านการเมืองการปกครองการค้าขายการพึ่งพาอาศัยกันและกันการมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายโดยยึดหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธ
 เรื่องปลาแดกปลาสมอนี้เป็นวรรณคดีพื้นบ้านของชาวอีสาน ที่เล่าสืบกันโดยสารต่อปากเป็นลักษณะหมอลำกลอน ซึ่งใช้เล่านิทานในบุญต่างๆบ้าง เป็นหมอลำเรื่องแสดงบนเวทีบ้างและได้มีผู้เขียนลงสมุดข่อยมักเป็นครูโดยแต่งทำนองกลอนลำพรรณนาและใช้ภาษาอีสานโบราณเก่ามากภาษาเหล่านี้บางคำแม้มีคนอีสานยุคปัจจุบันก็ยังไม่รู้ความหมายเนื้อหาของเรื่องปลาแดกปลาสมอมีทั้งฉากที่สะท้อนภาพการดำรงชีวิตอย่างอดอยากยากจนของชาวอีสานความเชื่อประเพณีการค้าขายต่างแดนบทรักบทสวดตลอดจนคติสอนที่ลึกซึ้ง




                                                                   บทที่ 4 การนำไปประยุกต์ใช้
การนำนิทานพื้นบ้านเรื่องปลาแดกปลาสมอ (ท้าวบุสบา) ไปประยุกต์ใช้มีรูปแบบต่างๆ มีดังนี้

        -หมอลำกลอน
        -นิทาน
        -สื่อวิดีทัศน์

สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิก


นางสาววิชุดา ผาทอง ปี3หมู่2 รหัสนักศึกษา 57210406208

1 ความคิดเห็น: